วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555


การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
       การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
            องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
 1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
 5. ความเข้าใจและการตอบสนอง กระบวนการสื่อสาร กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
 โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
 1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
 3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
 5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารมี4ประการดังนี้
1.   ผู้ส่งสาร (sender) หรือแหล่งสาร (source) หมายถึงบุคคลกลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสารหรือเป็นแหล่งกำเนิดสารที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิดได้แก่ภาษาและอากัปกิริยาต่างๆเพื่อสื่อสารความคิดความรู้สึกข่าวสารความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใดๆหรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตามจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามเช่นผู้พูดผู้เขียนกวีศิลปินนักจัดรายการวิทยุโฆษกรัฐบาลองค์การสถาบันสถานีวิทยุกระจายเสียงสถานีวิทยุโทรทัศน์กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หน่วยงานของรัฐบริษัทสถาบันสื่อมวลชนเป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ส่งสาร
1. เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสารแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ฯลฯ
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
3. เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดีมีความน่าเชื่อถือแคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจและมีความรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
4. เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
5. เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร

2. สาร (message) หมายถึงเรื่องราวที่มีความหมายหรือสิ่งต่างๆที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูลความรู้ความคิดความต้องการอารมณ์ฯลฯซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใดๆที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้เช่นข้อความที่พูดข้อความที่เขียนบทเพลงที่ร้องรูปที่วาดเรื่องราวที่อ่านท่าทางที่สื่อความหมายเป็นต้น
2.1รหัสสาร (message code)ได้แก่ภาษาสัญลักษณ์หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ความคิดอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ
2.2เนื้อหาของสาร (message content) หมายถึงบรรดาความรู้ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน
2.3การจัดสาร (message treatment) หมายถึงการรวบรวมเนื้อหาของสารแล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบเพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ต้องการด้วยการเลือกใช้รหัสสารที่เหมาะสม
3. สื่อหรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสารหมายถึงสิ่งที่เป็นพาหนะของสารทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร บริบททางการสื่อสาร ความสำคัญของการสื่อสาร

การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้โดยปราศจากการสื่อสารทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงานการทำธุรกิจต่างๆโดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลาพัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆกับพัฒนาการทางการสื่อสาร
2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคมช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคมช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีสะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรืองวิถีชีวิตของผู้คนช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคมการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรมจริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯลฯรวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสารจำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (2551: 17) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้
 1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสารผู้ทำการสื่อสารควรมีความต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสารเรื่องราวเหตุการณ์หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะถ่ายทอดวิชาความรู้หรือเรื่องราวเชิงวิชาการเพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสารโดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไปไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูดการเขียนหรือการแสดงกิริยาต่างๆ
 4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะหรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสารและอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตามหรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
5.  เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสารการแสวงหาความรู้ของผู้รับสารโดยอาศัยลักษณะของสารในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามีสิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำอยู่เสมอก็คือการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งการตัดสินใจนั้นอาจได้รับการเสนอแนะหรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอทางเลือกในการตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น การศึกษา (Education) คืออะไร -การศึกษาคือการสอนและการวัดผลแบบมีครูและตำราเป็นศูนย์กลางและเน้นการท่องจำตามคำบรรยาย/ตำราเป็นการเพิ่มพูนปริมาณองค์ความรู้แบบสำเร็จรูปและ/หรือ -การศึกษาคือกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) ซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกการตีความสร้างสรรค์และนำความรู้ใหม่ของผู้เรียนแต่ละคนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการแก้ปัญหาและการทำงานต่างๆ จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดยบลูมและคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน3ด้านดังนี้ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมองครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำความเข้าใจการนำไปใช้การวิเคราะห์การสังเคราะห์และประเมินผล ด้านเจตพิสัย (Affective Domain ) คือผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึกครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความรู้สึกความสนใจทัศนคติการประเมินค่าและค่านิยม ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติครอบคลุมพฤติกรรมประเภทการเคลื่อนไหวการกระทำการปฏิบัติงานการมีทักษะและความชำนาญ องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ ดอลลาร์ดและมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ4ประการคือ แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลเป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมองระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อแรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตอบสนองออกมาในสภาพการเรียนการสอนสิ่งเร้าจะหมายถึงครูกิจกรรมการสอนและอุปกรณ์การสอนต่างๆที่ครูนำมาใช้ การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้เช่นการเคลื่อนไหวท่าทางคำพูดการคิดการรับรู้ความสนใจและความรู้สึกเป็นต้น การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้นการเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก การสื่อสารกับการเรียนการสอน การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไปหมายถึงความสัมพันธ์ต่างๆจนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมายถึงการจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆเพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไปถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสารและวิธีสอน
1. สื่อ ( Medium หรือMedia) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินหมายถึงระหว่าง (Between) หมายถึงสิ่งต่างๆที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารตัวอย่างเช่นภาพยนตร์วิทยุโทรทัศน์รูปภาพสิ่งพิมพ์คอมพิวเตอร์ผู้สอนและอื่นๆซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอนเราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สื่อการเรียนการสอนสื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบหรือหลายลักษณะ (Format) แม้แต่สื่อประเภทเดียวกันก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันเช่นภาพยนตร์มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตรเทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียงและสิ่งพิมพ์เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้นวัสดุ (Material s ) หมายถึงสิ่งต่างๆที่เป็นชิ้นหรือเป็นอันเมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนอาจเรียกว่าวัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอนโสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s ) หมายถึงวัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส สรุปได้ว่าสื่อการเรียนการสอนหมายถึงสิ่งต่างๆที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          2. สาร (Messages) ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆก็ตามย่อมมีสารหรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอนซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชาแนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบหรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือสื่อจะเป็นพาหะนำสาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดีถูกต้องเหมาะสมสามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          3. วิธีสอนวิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไปมักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms) เช่นการบรรยายและการอภิปรายเป็นต้นวิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกันวิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนหรือเนื้อหาสาระในการเรียนส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ การสื่อสารการสอนการสอนเป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (Information) เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสารจากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสารการสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆตามจุดประสงค์การเรียนการสอนการสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับเรียกว่าการสื่อสารการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจะเกิดขึ้นได้ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆด้วยด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งดังนั้นเพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารและปัญหาอุปสรรคต่างๆตลอดจนวิธีการแก้ไขเพื่อเป็นแนวคิดในการใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
             1. องค์ประกอบของการสื่อสารประกอบด้วย 1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือEncoder) 2) ผู้รับ (Receiver หรือDecoder) และ   3) สาร (Messages)
          2. กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายคือSM CR Model    
          3. ปัญหาการสื่อสาร ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยาเช่นปัญหาเกี่ยวกับผู้รับไม่สนใจไม่ยอมรับรู้ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพเช่นความไม่สะดวกและความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกันซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆเข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆดังกล่าวได้ ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม จำแนกและการบูรณาการเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ดังนั้นการชี้แนะจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสอนและการสอนก็เป็นภารกิจสำคัญของครูด้วยเหตุนี้ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่สามารถจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับตัวผู้เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการสอน กรวยประสบการณ์ของเอดการ์เดล (Edgar Dale) การสอนโดยทั่วไปควรเริ่มจากประสบการณ์ตรงผ่านไปยังประสบการณ์จำลอง ( เช่นรูปภาพแผนที่แผนภูมิและภาพยนตร์ ) ไปสู่สัญลักษณ์ซึ่งการเรียนจากสื่อต่างๆทั้งหลายจะมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนการสอนควรควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจำแนก - บูรณาการดังนั้นประสบการณ์รูปธรรมและ / หรือกึ่งรูปธรรมจะช่วยเกื้อหนุนการเรียนรู้และจดจำได้นานตลอดจนช่วยให้เข้าใจสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น -วงจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) Abstract -ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) -การบันทึกเสียงวิทยุและภาพนิ่ง(Recording, Radio and IconicStill Pictures) -ภาพยนตร์ (Motion Pictures) -โทรทัศน์ (Television) -นิทรรศการ (Exhibits) -การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) -การสาธิต (Demonstrations) -ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experiences) En active -ประสบการณ์จำลอง (Contrived Experiences) -ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย(Direct, Purposeful Experiences) นอกจากสื่อการสอนจะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียนแล้วสื่อการสอนยังช่วยให้ผู้เรียนได้บูรณาการประสบการณ์เดิมทั้งหลายเข้าด้วยกันอีกด้วยดังนั้นการจัดประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่างเหมาะสมในการเรียนการสอนจึงเป็นเหตุผลหรือหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
             1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมหรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจเชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ประสบการณ์ต่างๆเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมจุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation) สิ่งต่างๆที่ไม่เหมือนกันออกจากกันและสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวกประสบการณ์ในการรู้จำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concept) ในเรื่องนั้นๆกระบวนการขั้นต่อไปก็คือการนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้าด้วยกันเกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการและทฤษฎีต่างๆซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้นี้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆต่อไป -Schemata (Schema) -Assimilation –Accommodation
           2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่าการเรียนรู้คือกระบวนการ          เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการคือ
            1. แรงขับ (Drive) หมายถึงความต้องการของผู้เรียนซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
             2. สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน (สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
          3. การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
          4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง สื่อการสอนเปรียบเสมือนสิ่งเร้าเพื่อการเรียนรู้ตัวอย่างสื่อการสอนที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ได้แก่บทเรียนโปรแกรมชุดการสอนและนวกรรมการสอนประเภทต่างๆ
          3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียนด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์) มาวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผลแล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไปทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interpretation) ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆตัวด้วยตนเองดังนั้นจุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆเพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเองดังนั้นการเรียนการสอนตามความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ก็คือการชี้แนะแนวทางการเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียนการวัดและประเมินผลการเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความรู้เพื่อเกื้อหนุนการคิดในการดำรงชีวิตจริง
             4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยาสังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนนักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่าลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้เช่นการเรียนแบบอิสระการเรียนเป็นกลุ่มเล็กหรือการเรียนรวมทั้งชั้นบทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่าผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใดซึ่งผลการศึกษาพบว่าการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน (Competitive Learning เทคโนโลยีเพื่อการเรียน เทคโนโลยี (Technology) คำว่าเทคโนโลยีอาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะดังนี้
1) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (Technology as a P recess) หมายถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
2) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Technology as P redact) หมายถึงเครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อันเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุเครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือและต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
 3) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล (Technology as a Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึงเทคโนโลยีในแง่
(1) การใช้วิธีการและเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน
 (2) การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกันเช่นเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือProgram) อย่างสัมพันธ์กัน การนำสื่อโสตทัศน์ทั้งหลายมาใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารและการเรียนการสอนซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์การเรียนการสอนซึ่งเป็นผลิตผลของเทคโนโลยีอย่างไรก็ตามการเรียนการสอนมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการสื่อสารเทคโนโลยีในฐานะที่เป็นวิธีการหรือกระบวนการ (Technology as a P recess) จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆทางการสอนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจดังนั้นเทคโนโลยีการสอนจึงหมายถึง การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนดังนั้นเทคโนโลยีการสอนจึงเป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถจัดความรู้ทักษะและเจตคติหรือการเรียนรู้ทั้งหลายให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆหรือที่เรียกว่านวกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบเช่นการสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based Instruction : CB) การสอนโดยใช้ระบบเสียง (Audio-tutorial Systems) การสอนแบบโมดุล (Modular Instruction) เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and Simulation) เป็นต้นเทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Miltie media) แต่เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดากล่าวคือเทคโนโลยีการสอนจะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอนและยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสำคัญ บทเรียนโปรแกรมเป็นตัวอย่างที่ดีของเทคโนโลยีการสอนบทเรียนโปรแกรมยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเฉพาะทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมซึ่งสกินเนอร์ (B. F. Skinner) ได้พัฒนาบทเรียนโปรแกรมขึ้นมาโดยจัดบทเรียนเป็นขั้นตอนสั้นๆให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับทุกขั้นตอนการเรียนและได้รับการเสริมแรงเมื่อตอบสนองถูกต้องการเสริมแรงและข้อมูลย้อนกลับเป็นผลแห่งความรู้ (Knowledge of Results) หรือเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาในตัวผู้เรียนนั่นเองดังนั้นการสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรมหรือการสอนแบบโปรแกรมจึงเป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Active Process) ไม่ใช่ผู้เรียนรอรับความรู้แต่เพียงอย่างเดียวซึ่งต่างจากการสื่อสารการสื่อสารเป็นเพียงบันไดขั้นแรกของการเรียนรู้เท่านั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการสอนได้พัฒนามาจากทฤษฎีการเสริมแรงซึ่งทฤษฎีการเสริมแรงนี้จัดว่าเป็นทฤษฎีพื้นฐานที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบอย่างไรก็ตามทฤษฎีอื่นๆเช่นกลุ่มสัมพันธ์จิตวิทยากลุ่มความรู้นิยมทฤษฎีสารสนเทศ (Information Theory) และจิตวิทยาพัฒนาการต่างก็มีความสำคัญในการเกื้อหนุนให้เทคโนโลยีการสอนพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าสื่อและเทคโนโลยีการสอนสนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครูการใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุดโดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอนการใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของครูดังนั้นถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอนครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตรระบบการสอนและเทคนิคต่างๆในการใช้สื่อรวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2. สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการโดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครูเช่นการใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษาการเรียนจากบทเรียนโปรแกรมตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆและการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเองเป็นต้น 3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบสื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้เป็นอย่างดีเช่นการใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยาศาสตร์กายภาพเพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหาจนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆได้ 4. สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอนสื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นดังนั้นสื่อและเทคโนโลยีจึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถจัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนปัญหาและสื่อต่างๆที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆเช่น 1) การสอนแบบเอกัตบุคคล 2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก 3) การสอนแบบกลุ่มใหญ่ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใดครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีนอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสมตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ 5. สื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกัตบุคคลการสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบันการสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองหรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครูโดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน 6. ช่วยการศึกษาพิเศษสื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดีเรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้ 7. สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความรู้ทางวิชาการสื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษาไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือนอกห้องเรียนตลอดจนการศึกษาแบบทาง การสื่อสารกับการศึกษา การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสาร อันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือ ผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆ ภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้น ตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครู คือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคล คือ 1. จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพ บันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ 2. ดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น 3. ขยายจ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆ เข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน พัฒนาการของการสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก นับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น อาจแบ่งออกเป็น 3 ยุค ที่สำคัญตามลำดับ คือ เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรม ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรม และถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาร เหตุที่ยุคปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่าเป็นยุคของการสื่อสาร เพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก และอัตราความเจริญเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลายอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในศตวรรษนี้ ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารดังกล่าว ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้น ย่อมจะมีพัฒนาการมายาวนาน พร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ การสื่อสารในยุคโบราณ การสื่อสารในยุคโบราณ เป็นการสื่อสารอย่างง่ายตามธรรมชาติของการดำเนินชีวิตในสมัยนั้น แม้ว่าการใช้ภาษาหรือรหัสสัญญาณในการสื่อสารจะอยู่ในขอบเขตจำกัด แต่ก็สามารถสื่อสารกันได้ผลดี เพราะผู้คนมีจำนวนน้อย การสื่อสารจึงไม่ซับซ้อน และมนุษย์เองก็มีนิสัยชอบบอกกล่าวถึงสิ่งที่ตนค้นพบ หรือเห็นว่าน่าสนใจให้คนอื่นได้ทราบอยู่แล้ว นอกจากการบอกกล่าวโดยการสื่อสารอย่างง่าย ด้วยคำพูดหรือภาษาท่าทางแล้ว ภาพเขียนโบราณตามผนังถ้ำ เป็นหลักฐานสำคัญอันหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นความพยายามที่จะสื่อความหมายของมนุษย์ ไม่ว่าภาพหรือรอยขีดเขียนเหล่านั้น จะขีดเขียนเพื่อความเพลิดเพลิน หรือเขียนขึ้นเพื่อบอกกล่าวให้ผู้อื่น โดยเฉพาะคนรุ่นหลังได้ทราบก็ตาม ย่อมมีคุณค่าในแง่การสื่อสารเสมอ การสื่อสารในยุคนี้ เป็นการสื่อสารกลุ่มย่อยเท่านั้น เชื่อว่ายังไม่มีการสื่อสารแบบมวลชนเกิดขึ้น การสื่อสารในยุคเกษตรกรรม ในยุคนี้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าหรือกษัตริย์ผู้ปกครอง พัฒนาการทางด้านความรู้ ความคิด การเมืองการปกครอง ทำให้จำเป็นต้องคิดค้นภาษา หรือสัญลักษณ์เพื่อใช้ในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การสื่อสารจึงมีความซับซ้อนขึ้นตามไปด้วย เริ่มจากการสื่อสารด้วยการเขียนภาพเหมือนของจริงในสมัยโบราณ กลายมาเป็นอักษรภาพ และตัวอักษรที่มีลักษณะเป็นนามธรรมขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการค้นพบกรรมวิธีทางการพิมพ์ยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนให้เกิดการบันทึกและเผยแพร่ความรู้ข่าวสารต่างๆ มากขึ้นเป็นลำดับ มีความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข่าวสาร ศิลปวัฒนธรรมระหว่างชุมชน เมื่อมีการอยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ การสื่อสารแบบมวลชนจึงเกิดขึ้น การสื่อสารในยุคอุตสาหกรรม เนื่องจากประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีการติดต่อค้าขายระหว่างกลุ่มชนประกอบกับมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ เช่น การไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ เครื่องจักรทุ่นแรง เป็นเหตุผลักดันให้ต้องแสวงหากรรมวิธีในการผลิตสินค้า ให้เพียงพอต่อความต้องการ เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างขนานใหญ่ โดยเริ่มจากประเทศในยุโรป และขยายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา จากสังคมเกษตรกรรม กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนขึ้น ผู้คนทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิตมากๆ เมื่อสังคมมีความซับซ้อน การสื่อสารก็มีความซับซ้อนตามไปด้วย การสื่อสารแบบมวลชนมีความสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในยุคนี้พัฒนาการของเครื่องมือการสื่อสาร ไฟฟ้า โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์ และความก้าวหน้าทางการพิมพ์ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ส่งเสริมให้การสื่อสารทั้งระหว่างบุคคลและการสื่อสารแบบมวลชนขยายตัวอย่างกว้างขวาง การสื่อสารในยุคปัจจุบัน ปัจจุบันได้ชื่อว่า เป็นยุคของการสื่อสารอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทุกๆ ด้าน ทำให้การสื่อสารกลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก สภาพของสังคมปัจจุบัน ทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศหรือระดับโลก เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การแก่งแย่งทางการค้า จากอดีตที่เคยทำสงครามรบพุ่งฆ่าฟันกันด้วยอาวุธ เพื่อครอบครองดินแดน และหาแหล่งทรัพยากร กลายมาเป็นการทำสงครามทางการค้า และสงครามทางวัฒนธรรม สภาพของสังคมเช่นนี้ ผู้ที่ทราบหรือครอบครองข่าวสารข้อมูลมากกว่า ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ย่อมได้มาโดยวิธีการของการสื่อสาร ซึ่งนับว่าปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างยิ่ง ทั้งในด้านเทคนิควิธีการ และเครื่องมือสื่อสารอันทันสมัย เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง และใช้งานได้อย่างหลากหลาย การสื่อสารทางไกล ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ ไม่เพียงเฉพาะการสื่อสารระหว่างอำเภอ จังหวัด หรือระหว่างประเทศ ข้ามทวีปเท่านั้น ปัจจุบันเราสามารถสื่อสารได้ถึงระดับดวงดาว ทั้งภาพ และเสียง ประเภทของการสื่อสาร นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชน ได้จำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก (ปรมะ สตะเวทิน 2526 : 18 - 48 ) ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร 2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก 3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร 1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1.1 การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดย ฝ่ายผู้รับไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ซึ่งผู้รับอาจไม่เข้าใจข่าวสาร หรือเข้าใจไม่ถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งและทางฝ่ายผู้ส่งเมื่อไม่ทราบปฏิกิริยาของผู้รับจึงไม่อาจปรับการสื่อสารให้เหมาะสมได้ การสื่อสารแบบนี้สามารถทำได้รวดเร็วจึงเหมาะสำหรับการสื่อสารในเรื่องที่เข้าใจง่าย ในสถานการณ์ของการสื่อสารบางอย่าง มีความจำเป็นต้องใช้การสื่อสารทางเดียว แม้ว่าเรื่องราวที่สื่อสารจะมีความซับซ้อนก็ตาม เช่น กรณีผู้รับและผู้ส่งไม่อาจพบปะ หรือติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ และการสื่อสารมวลชนซึ่งไม่อาจทราบผู้รับที่แน่นอน 1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารมีโอกาสทราบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน ทำให้ทราบผลของการสื่อสารว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่างการสื่อสารแบบสองทาง เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดยฝ่ายรับมีโอกาสแสดงความคิดเห็น การสื่อสารแบบนี้จึงมีโอกาสประสบผลสำเร็จได้มากกว่า แต่ถ้าเรื่องราวที่จะสื่อสารเป็นเรื่องง่าย อาจทำให้เสียเวลาโดยไม่จำเป็น ในสถานการณ์ของการสื่อสารบางอย่าง เช่น ในการสื่อสารมวลชน ซึ่งโดยปกติมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว นักสื่อสารมวลชนก็มีความพยายามที่จะทำให้มีการสื่อสาร 2 ทางเกิดขึ้น โดยการให้ประชาชนส่งจดหมาย โทรศัพท์ ตอบแบบสอบถาม กลับไปยังองค์กรสื่อมวลชน เพื่อนำผลไปปรับปรุงการสื่อสารให้บรรลุผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก แบ่งเป็น 2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร 2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็วในการพูด เป็นต้น (ปรมะ สตะเวทิน 2529 : 31) 3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร กิจกรรมต่างๆ ของบุคคลและสังคม ถือว่าเป็นผลมาจากการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นการสื่อสารจึงมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะคือ (อรุณีประภา หอมเศรษฐี 2530 : 49-90) 3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication) 3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) 3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) การสื่อสารส่วนบุคคล หมายถึง การคิด การตัดสินใจของบุคคล คนใดคนหนึ่ง ที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในตัวบุคคล ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การสื่อสารส่วนบุคคล เป็นพื้นฐานของการติดต่อกับผู้อื่น ทั้งนี้เพราะการที่เราจะติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นนั้น ในขั้นแรกจะต้องมีการเรียนรู้ หรือตัดสินใจในตนเองเสียก่อน และเมื่อใดก็ตามที่มีการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น คนเราก็จะต้องสื่อสารกับตัวเองไปด้วยในขณะเดียวกัน การสื่อสารส่วนบุคคลเกิดขึ้นทันที ที่บุคคลมีการคิด ผลของการคิด นำไปสู่การตัดสินใจแสดงพฤติกรรมของคน การสื่อสารส่วนบุคคล จึงมีความสำคัญต่อการศึกษา ในเรื่องของการสื่อสาร ทั้งนี้เพราะเกี่ยวพันไปถึง ความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ซึ่งย่อมมีผลสะท้อนต่อบุคคลอื่นและสังคมด้วย ลักษณะของการสื่อสารส่วนบุคคล อาจเป็นไปแบบของการปกปิด เช่น การคิด การพูด การเขียนที่ไม่มีเจตนาให้ผู้อื่นทราบ หรือเป็นแบบเปิดเผย แต่ไม่มีจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น มีบุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในกระบวนการของการสื่อสาร จึงไม่อาจวัด หรือทราบความต้องการข่าวสารจากภายนอกได้ การรับสารในการสื่อสารส่วนบุคคล มีช่องทางการรับได้ 2 รูปแบบคือ 1. การรับสารเฉพาะตัว เช่น ความคิดคำนึง ความกลัว ที่เกิดขึ้น ภายในตัวเอง ซึ่งแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ และสภาพจิตใจของแต่ละบุคคล 2. การรับสารจากภายนอก เป็นการรับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว บุคคลทั่วไปมีประสบการณ์เหมือนกัน เช่น ความหอมของดอกไม้ ความเจ็บปวด ฯลฯ แต่ปฏิกิริยาตอบสนองอาจไม่เหมือนกัน การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อความหมายของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เช่น การพูดคุย อภิปราย โต้วาที การประชุมสัมมนา การเรียนการสอน การสั่งงาน ตลอดจนการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน การสื่อสารลักษณะนี้ถือว่าเป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์และมีโอกาสบรรลุจุดประสงค์ได้ดีที่สุด ผู้สื่อสารสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน ความหมายของการสื่อสารโดยทั่วไป หมายถึงการสื่อสารประเภทนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น